LOGO-Main
หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.)

Advanced Security Mangement Program

มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง

Security Management Foundation

topic_pic
โครงสร้างหลักสูตร

โครงการหลักสูตร การบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.)

ปรัชญาของหลักสูตร

พัฒนาผู้บริหารระดับสูงซึ่งเปรียบเสมือนเป็นคลังสมองของประเทศ ให้มีองค์ความรู้ที่ทันสมัยในองค์ประกอบความมั่นคงแห่งชาติ โดยเฉพาะในด้านความมั่นคงของมนุษย์ มีทักษะ หลักคิด มีหลักเกณฑ์ ในการวิเคราะห์/สังเคราะห์ สถานการณ์อย่างถูกต้อง และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้บริหารระดับสูง เพื่อร่วมกันสร้างเสริมความมั่นคงของมนุษย์ และความมั่นคงแห่งชาติโดยรวม

พลเอก จรัล กุลละวณิชย์
ประธานมูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง/ประธานหลักสูตรฯ
พลเอก ดร. มารุต ปัชโชตะสิงห์
ผู้อำนวยการหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง
มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อให้บุคคลทั่วไปทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กร สาธารณะ ได้ศึกษาและรับทราบข้อมูลใหม่ๆ ที่ทันสมัยเป็นการเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนในปัจจุบัน เกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ในด้านต่างๆ สามารถสังเคราะห์แนวทาง ในการเสริมสร้างปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้บริหารระดับสูง

2. เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงดังกล่าว ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบความมั่นคงในมิติต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิสัยทัศน์และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้ารับการศึกษาด้วยกัน

3. เพื่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ให้เกิดความรัก ความผูกพัน เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ สังคมและประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม

วิสัยทัศน์หลักสูตร มส. 4 สร้าง

- สร้างความมั่นคงแห่งชาติ
- สร้างความมั่นคงของมนุษย์
- สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
- สร้างคุณธรรมและจริยธรรม

กำหนดประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น เรียกแต่ละประเด็นว่า กลุ่มสาระ อันเป็นกลุ่มของเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
กลุ่มสาระที่ 1 : การวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ

1. ความมั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงของมนุษย์ในบริบทโลกและภูมิภาคปัจจุบัน/อนาคต
2. ยุทธศาสตร์กับการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติ
3. ยุทธศาสตร์ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กลุ่มสาระที่ 2 : การเสริมสร้างพลังอำนาจของชาติ ในมิติต่างๆ

1. การพัฒนาการเมืองไทย
2. การเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
3. การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ
4. การพัฒนาศักยภาพด้านการป้องกันประเทศ
5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ

กลุ่มสาระที่ 3 : ความมั่นคงของมนุษย์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน

1. ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาเพื่อความมั่นคงของมนุษย์
2. ยุทธศาสตร์ด้านการสาธารณสุข เพื่อความมั่นคงของมนุษย์
3. บทบาทภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการสร้างความมั่นคงของมนุษย์
4. การบริหารจัดการเพื่อรองรับโครงสร้างประชากร และสังคมสูงวัย
5. ธรรมาภิบาลกับความมั่นคงของมนุษย์
6. การสร้างคนคุณธรรมและจริยธรรม

กลุ่มสาระที่ 4 : ภาวะผู้นำยุคใหม่และการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

1. ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบต่อสังคม
2. การสร้างเครือข่ายทางยุทธศาสตร์
3. ผู้นำยุคใหม่ และการสร้างทีมงาน
4. การสร้างพลังปัญญาในความแตกต่างและความหลากหลาย
5. การบริหารจัดการเพื่อปรับตัวเข้าสู่ยุค VUCA (Votality, Uncertainty, Complexity, Ambiguity) และBANI (Brittle, Anxious, Nonlinear, Incomprehensible)
6. ความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืน