LOGO-Main
หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.)

Advanced Security Mangement Program

มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง

Security Management Foundation

รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์รัตนพงษ์ สอนสุภาพ บรรยายพิเศษหัวข้อ “ธุรกิจผิดกฏหมายกับความมั่นคงแห่งชาติ”

Share

ผู้อำนวยการสถาบันประเทศไทยต่อต้านการทุจริต ชี้ แนวโน้มปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการบังคับใช้กฏหมายยังขาดประสิทธิภาพ ไม่ครอบคลุม หวั่น คนรุ่นใหม่เล่นการพนันออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะ การซื้อหวย 

การอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.) รุ่นที่ 16 จัดโดยมูลนิธิจัดการเพื่อความมั่นคง โดยมี พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธานมูลนิธิ  และ พลเอก ดร. มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้อำนวยการหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง 

รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์รัตนพงษ์ สอนสุภาพ ผู้อำนวยการสถาบันประเทศไทยต่อต้านการทุจริตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม บรรยายพิเศษหัวข้อ “ธุรกิจผิดกฏหมายกับความมั่นคงแห่งชาติ” ว่า เศรษฐกิจผิดกฎหมายมีความสำคัญและเกิดขึ้นกับทุกประเทศ แต่ละประเทศมีการจัดการที่แตกต่างกัน  มองในมิติ กฎหมายบางอย่างเก่ามาก เช่น พรบ การพนัน พศ 2478 มีการแก้ไขการจัดการควบคุมหลายครั้งแต่ยังอยู่คงเดิม แต่ปัญหาการพนัน ยาเสพติด คอร์รัปชั่นยังคงอยู่ และเป็นประเด็นใหญ่ในประเทศไทย 

ทั้งนี้ ต่างชาติให้คำจำกัดความ เศรษฐกิจผิดกฎหมาย อยู่ใต้ดินไม่สามารถนำมาใช้อย่างเป็นทางการได้และไม่ได้ถูกเก็บภาษีจากรัฐ และเรื่องผู้สูงอายุเป็นเรื่องของความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ปัญหาเกิดจากรัฐ ที่ไม่ได้วางแผนโครงสร้างรองรับสังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดของประเทศไทย 1.4 % หรือ เฉลี่ยอยู่ที่ 400,000 – 500,000 คนต่อปี ขณะที่ การตายคิดเป็นอัตราส่วนอยู่ที่ 23% อนาคตประเทศไทยจะขาดแรงงาน เป็นสิ่งที่น่ากังวล วิสัยทัศน์ผู้นำประเทศจะขับเคลื่อนอย่างไร ขณะที่ต่างประเทศมีปัญหาเรื่องของสังคมผู้สูงอายุแต่สามารถจัดการได้ดี เช่น ประเทศสิงค์โปร์ รวมถึง การเก็บข้อมูลประชากรในประเทศไทย มีความยากลำบาก โดยเฉพาะ เด็กเล็กในประเทศไทย 

หากพิจารณา พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 2542 พบว่า ร้อยละ 90% เป็นคดียาเสพติดที่เข้าสู่กระบวนการทั้งหมด รองลงมาคดีคอร์รัปชั่น และ คดีการพนัน โดยคดียาเสพติดที่เพิ่มขึ้นมีปัจจัยมาจาก การบังคับใช้กฏหมายยังขาดประสิทธิภาพ ไม่ครอบคลุม และ การใช้ดุลยพินิจของรัฐ ปัญหาคอร์รัปชั่น มีการกระจายวงกว้าง เกิดขึ้นระหว่างภาครัฐและเอกชน 

ประเทศที่มีรายได้ต่ำมีโอกาสเข้าสู่ปัญหายาเสพติดมากขึ้นซึ่งถือเป็นปัญหาของโลก  แนวโน้มของการผลิตยาเสพติดเพิ่มขึ้น โดยประเทศไทย เป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด โดยเฉพาะ ภาคเหนือ ถือเป็นจุดใหญ่ เป็นภัยคุกคามต่อโลก

ปัญหาการพนัน ปี 2010 พบว่า เอเชียแปซิฟิคคือภูมิภาคที่มีประชากรเล่นการพนันเยอะที่สุด หรือ มูลค่าการพนันสูงที่สุดถือเป็นตลาดใหญ่  ต่างจาก ลาสเวกัส  อเมริกา ยุโรป มีจำนวนการเล่นพนันลดลง เฉลี่ยในปี 2010 – 2015 เติบโตเฉลี่ย 18% แต่ในช่วงสถานการณ์โควิดมีการใช้ออนไลน์มากขึ้น ทำให้การพนันออนไลน์ของโลกเติบโตมากขึ้น เช่น แถบชายแดน ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย และในช่วงหลังสถานการณ์โควิด มูลค่าการพนันออนไลน์ของโลก เพิ่มขึ้นเกือบ 4 แสน ถึง 5 แสนล้าน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจการพนันเติบโต คือ ต่างประเทศทำให้ธุรกิจการพนัน  นโยบายหารายได้จากต่างประเทศ  การบริหารจัดการของผู้ประกอบการคาสิโนมีการแลกเปลี่ยนข่าวสาร และ มีการเติบโตของเทคโนโลยี ทำให้การพนันเข้าสู่ระบบออนไลน์ มีการคิดสินค้าแบบใหม่ 

 ในปี 2566 ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  พบว่า การพนันออนไลน์เข้ามามีบทบาท ในกลุ่มเยาวชนมากขึ้นเฉลี่ยปีละ 4-500,000 คน คนรุ่นใหม่เล่นการพนันมากขึ้น โดยเฉพาะ การซื้อหวยใต้ดิน ทำให้มีเงินหมุนเวียนการเล่นพนันที่มาจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ 60,000 ล้านบาท 

ดังนั้น การแก้ปัญหาเศรษฐกิจผิดกฏหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมาย บทบาทภาครัฐ เพื่อทำให้การพนันอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และทำให้ถูกกฎหมายบางส่วน  นอกจากนี้ ระบบการเมืองไทย ความมั่นคงทางการเมืองไทย เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาคอร์รัปชั่น และเป็นกับดักทางการเมืองไทยที่ทำให้ไม่สามารถเดินหน้าได้

รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์รัตนพงษ์ กล่าวว่า การบริหารจัดการแก้ปัญหาเศรษฐกิจผิดกฎหมาย ต้องแก้ปัญหาระบบข้อมูลเชิงลึก การศึกษาวิเคราะห์สังคม การเมือง การสร้างสภาพแวดล้อมในระบบตลาด  และ การบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา 

และในช่วงเสวนาหัวข้อ “การบูรณาการอำนาจการปกครองระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น”  โดยนายสมาน  พั่วโพธิ์  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาชุมชน  ด็อกเตอร์ลือกฤต เพชรบดี นายกเทศมนตรีตำบลสำโรงเหนือ และ พลเรือเอกไพโรจน์ แก่นสาร รองผู้อำนวยการหลักสูตร  กล่าวว่า รัชกาลที่ 5 วางรากฐานระบบการปกครองของไทย ต่อมารัชกาลที่ 6 มีการปรับปรุงบ้านเมืองให้ชัดเจมากขึ้น แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ ส่วนท้องถิ่น แต่มีความไม่ลงตัวในหลายลักษณะ เป้าหมายต้องการให้อยู่ดี กินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่การมีหลายหน่วยงานไปอยู่ในที่เดียวกัน แต่การขึ้นตรงขึ้นอยู่กับส่วนกลาง ทำให้ไม่สามารถใช้อำนาจได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดการเรียกร้องจากประชาชนบางกลุ่มให้มีการปฏิรูประบบปกคการปกครองให้มีความลงตัว ทำงานร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ และ บูรณาการ เช่น เสนอให้มีการเลือกผู้ว่าราชการประจำจังหวัด เสนอให้มีเขตปกครองพิเศษ เริ่มจาก กทม และ พัทยา ให้บริหารจัดการตนเอง แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป 

โครงสร้างระบบการปกครองของประเทศไทย เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 4 แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินเป็น 3 ส่วน ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ ส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ส่วนกลางเป็นกลไกของรัฐบาลให้นโยบายนำไปสู่การปฏิบัติ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ปัจจุบันมี 20 กระทรวง 140 กรม เพื่อให้ส่วนภูมิภาคนำไปปฏิบัติ เป็นการบริหารงานตามหลักการรวมอำนาจ มีรัฐบาลทำหน้าที่บริหารประเทศ ให้นโยบาย เพื่อให้ส่วนภูมิภาค และ ท้องถิ่นนำไปปฏิบัติ บริหารตามหลักกระจายอำนาจ 

ปัจจุบันภาพรวมการบริหารราชการในส่วนขององค์กรปกครองส่วยท้องถิ่น มีรายได้จากหลายทาง เช่น รายได้ที่จัดเก็บเอง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย  การจัดเก็บรายได้ต้องมีความโปร่งใส มีการบริหารจัดการที่ดี หากงบประมาณไม่เพียงพอ จะใช้วิธีการของงบสนับสนุนจากภาคเอกชน ห้างร้าน หากจะมีการใช้งบประมาณต้องมีการจัดทำแผนโดยให้ประชาคมมีส่วนร่วมเสนอโครงการ 

หากประชาชนมีความขัดแย้ง เทศบาลจะเรียกทั้งสองฝ่าย จะเชิญอัยการมาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท วิธีการไกล่เกลี่ยช่วยลดปัญหา ลดข้อขัดแย้งได้มาก  

แนวทางการพัฒนาชุมชนจะทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นการทำงานบูรณาการแต่ยังขาดความคล่องตัว ทำให้ประชาชนซึ่งเป็นเป้าหมายปลายไม่ได้รับผลประโยชน์เต็มที่ เช่น สินค้าโอทอป แผนชุมชน ดังนั้นผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะ ผู้ว่าราชการจังหวัด ถึง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องเข้าใจพื้นที่ บริบทสิ่งแวดล้อม  ดึงทุกภาคส่วนมาช่วยทำงาน นำข้อมูลเชิงลึกมาใช้และทำงานบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกัน.