LOGO-Main
หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.)

Advanced Security Mangement Program

มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง

Security Management Foundation

เศรษฐกิจ BCG กับความมั่นคงแห่งชาติ

Share

ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เตือน  โลกอยู่ใน

ขั้นวิกฤต โดยเฉพาะ สภาพภูมิอากาศ แนะทุกฝ่ายร่วมมือกันดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจาการตัวเองเราเองที่ต้องตระหนักรู้ และ ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง

การอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.) รุ่นที่ 16 จัดโดยมูลนิธิจัดการเพื่อความมั่นคง โดยมี พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธานมูลนิธิ  และ พลเอก ดร. มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้อำนวยการหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง 

ด็อกเตอร์วิจารย์  สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและเลขาธิการองค์การธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวบรรยายวิชาการหัวข้อ “เศรษฐกิจ BCG กับความมั่นคงแห่งชาติ” ว่า โลกอยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะ สภาพภูมิอากาศ ได้ใช้ทรัพยากรของโลกไป 85%ทั่วโลกให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และ สภาพภูมิอากาศ โดยในอีก 10 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่า โลกจะประสบภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก สภาพอากาศแปรปรวน ขณะที่เวลานี้คลื่นความร้อนเกิดขึ้นในหลายประเทศ ความล่มสลายในด้านชีวภาพ ความล่มสลายของสิ่งมีชีวิต ทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ และ สังคม สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ส่งผลกระทบกับ น้ำ สิ่งมีชีวิต ความล่มสลายชีวิต รวมถึง การเกษตร ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น หากโลกอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5 องศา ส่งผลกระทบกับแมลง เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ

Sustainable Development Solutions Network (SDSN) ได้เผยแพร่ “รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Report) และ SDG Index ประจำปี 2566 โดยถือได้ว่าเป็นการรายงานผลที่ให้ข้อมูลสถานการณ์ SDGs ที่เป็นปัจจุบันที่สุดอย่างต่อเนื่อง และเป็นการจัดอันดับผลการดำเนินงานด้าน SDGs ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ในปี 2022 ไทยอยู่ที่อันดับ 43 ของโลก อันดับที่ 3 ของเอเชีย และ อันดับ 1 ของอาเซียน ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ความท้าทายร่วมกันของทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่ภาพรวมสถานการณ์โลกประเทศฟินแลนด์ดำเนินการได้ตรงเป้าหมายมากที่สุด

การพัฒนานโยบายด้านภูมิอากาศระหว่างประเทศ จากปารีสถึงกลาสโกลว์ โดยมีการประชุม Conference of the Parties ครั้งที่26 หรือ COP26 ที่มีนัยยะต่อไทยและโลก ตั้งเป้า 93ประเทศทั่วโลก

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ลดการใช้พลังงานถ่านหอน เลิกอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล ประเทศประเทศที่พัฒนาแล้วเพิ่มความพยายามทางการเงินให้ได้ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ให้มีการจัดทำกรอบการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ

ในปี 2561 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด อันดับที่ 1 ประเทศจีน รองลงมา สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อินเดีย ส่วนไทยอยู่ที่อันดับ 19 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมพลังานมากที่สุด รองลงมา ภาคการเกษตร ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม และภาคของเสีย

ด็อกเตอร์วิจารย์  กล่าวว่า การขับเคลื่อน COP 26 ของไทย มีแนวทางการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต ได้มีการวางกรอบนโยบายและกฏหมายบูรณาการเป้าหมายตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ เร่งรัดการจัดทำพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรับโครงสร้างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรองรับงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ออกระเบียบส่งเสริมการปลูกป่าและแบ่งปันคาร์บอนเครดิตระหว่างภาครัฐและเอกชน การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม พลังงาน เกษตร คมนาคม ให้ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ เร่งสร้างการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายด้วยการพัฒนาแนวทางกลไกบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต พัฒนางานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด เพิ่มสีเขียงตามหมายยุทธศาสตร์ชาติ ส่งเสริมความตระหนักสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ​ โดยไทยยืนยันได้ทำตามสิ่งที่ให้คำมั่นไว้ได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ ปรับเปลี่ยนระบบนิเวศเศรษฐกิจ เร่งผลักดันพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรปรับตัวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่ไปกับการรักษาความมั่นคงทางอาหารผ่านโครงการเพิ่มศักยภาพการปลูกข่าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศโดยมองว่า การระดมเงิน  แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายในปี 2025 จะเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุเป้าหมาย

ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ UNGA ครั้งที่ 78 ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา มีผู้นำประเทศสมาชิกยูเอ็น 193 ประเทศ รวมทั้งผู้นำไทย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย ประกาศโมเดลเศรษฐกิจ BCG กำหนดเป้าหมายความยั่งยืนของประเทศไทยกับความมั่นคงแห่งชาติ เพิ่มมูลค่าให้สินค้าจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ การนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดความั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสาธารณสุข ความมั่นคงทางพลังงาน สร้างหลักประกันงานทำ และ สร้างความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการรวม 11 ชุดดูแลกำกับการผลักดัน โมเดลเศรษฐกิจ BCG ให้เป็นรูปธรรม และ เกิดผลสัมฤทธิ์  

โมเดลเศรษฐกิจ BCG กับ ความหลากหลายทางชีวภาพ ในปี 2022 ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ที่อันดับ  20 จาก 210 ประเทศทั่วโลก และอยู่ที่อันดับ 5 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน ได้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป สมุนไพรไทย ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่า สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น เช่น งานวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุนจากเส้นใยป่าศรนารายณ์และอีพอกซี่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิจัยเสื้อเกราะจากรังไหมเอ็ม 16 โครงการหลวงยกระดับเส้นใยกัญชงสู่การพัฒนาเป็นเครื่องแบบทหาร

โมเดลเศรษฐกิจ BCG กับเศรษฐกิจหมนุเวียน มุ่งเน้นการเติบโตเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทำให้ผู้คนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น GDP เพิ่มขึ้น การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรต่อกิจกรรมให้นานที่สุดในระบบเศรษฐกิจและ เกิดของเสียน้อยที่สุด โดยกำหนดเป้าหมายสาขาเศรษฐกิจหมุนเวียนใน 3 อุตสาหกรรมเป้าหมาย พลาสติกครบวงจร เกษตรและอาหาร วัสดุก่อสร้าง โดยแบ่งการขับเคลื่อน BCG กับเศรษฐกิจหมนุเวียน 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐสนับสนุนงานวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ภาคเอชนสนับสนุนโครงการ PackBack เก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืนวิถีใหม่ลดขยะอาหารผ่านแพลตฟอร์มวัตถุดิบเหลือส่งต่อไม่ต้องทิ้ง และ เชิงพื้นที่ ต้นแบบการจัดการขยะของศูนย์การค้า

การดำเนินการโมเดลเศรษฐกิจ BCG กับเศรษฐกิจหมนุเวียนทำให้เกิด 5 ธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจพัฒนานวัตกรรมที่ยืดอายุสินค้า ธุรกิจแบ่งปัน ธุรกิจที่นำทรัพยากรกลับมาผลิตใหม่ ธุรกิจขายสินค้าพร้อมบริการ และ ธุรกิจสนับสนุนวัสดุทดแทน โดยภาคเอกชนบริษัทขนาใหญ่ประกาศแผนการดำเนินธุรกิจสู่ Go Green เช่น ยูนิลีเวอร์ โคคาโคล่า ปตท เอสซีจี

เดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่13 แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่พัฒนา เศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เป็นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการรักษาคุณค่าของทรัพยากรด้วยการลดการใช้ หมุนเวียนนำกลับมาใช้ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหามลพิษ และสร้างเศรษฐกิจแนวใหม่

เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโตแข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

และเพื่อให้เกิดการดำเนินการเกิดความยั่งยืน ได้กำหนดแนวทาง ESG แนวคิดการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล  บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต้องทำรายงานส่ง กลต ประเด็นการดูแลสิ่งแวดล้อม แบงก์ชาติออกกฎเกณฑ์กำหนดให้การลงทุนต้องดูแลสิ่งแวดล้อม ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญเรื่อง BCG อย่างเคร่งครัดและยั่งยืน

พร้อมกันนี้ ด็อกเตอร์วิจารย์  กล่าวสรุปในช่วงท้ายก่อบจบการบรรยายว่า เมื่อโลกอยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะ เรื่องสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น การดูแลสิ่งแวดล้อม จะต้องเริ่มจาการตัวของเราเองที่ต้องตระหนักรู้ และ ลดการใช้พลาสติกอย่างจริงจัง หากจำเป็นต้องใช้พลาสติก จะใช้พลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร เริ่มต้นจากพฤติกรรมการบริโภค ลดการใช้งานพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวให้ได้มากที่สุด ระบบจัดเก็บและระบบรวบรวมที่เป็นมาตรฐาน ทำอย่างไรให้พลาสติกสะอาดกลับเข้าสู่ระบบได้มากที่สุด ส่วนพลาสติกสกปรกสามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานได้ เศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเป็นแนวคิดหนึ่งที่ประยุกต์ใช้กับการใช้งานและการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน