LOGO-Main
หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.)

Advanced Security Mangement Program

มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง

Security Management Foundation

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวบรรยายหัวข้อ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงมหาอำนาจที่มีผลกระทบต่อสถานการณ์โลกปัจจุบัน

Share

การอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.) รุ่นที่ 16 จัดโดยมูลนิธิจัดการเพื่อความมั่นคง โดยมี พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธานมูลนิธิ  และ 

พลเอก ดร. มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้อำนวยการหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง 

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ  ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ กล่าวบรรยายหัวข้อ 

“การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงมหาอำนาจที่มีผลกระทบต่อสถานการณ์โลกปัจจุบัน” ว่า เมื่อปีที่แล้วเราจะได้ยินคำว่า ภูมิรัฐศาสตร์ และ ภูมิเศรษฐศาสตร์ และเราจะยังได้ยินคำว่า ภูมิเศรษฐศาสตร์ มากขึ้น เพราะความขัดแย้งเริ่มเปลี่ยน โดยพื้นที่สุ่มเสี่ยงที่หลายฝ่ายจับตา คือ นาโต้กับรัสเซีย ปีนี้มีความสำคัญ 60-70 ประเทศทั่วโลกจะมีการเลือกตั้ง หนึ่งในประเทศที่มีการเลือกตั้งคือ รัสเซีย และ ยูเครน สิ่งที่เกิดขึ้นชาติมหาอำนาจไม่สนับสนุนนายเซเลนสกีผู้นำยูเครน พื้นที่อันตรายอย่างเช่น แอฟริกา ซาเฮล ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล มีการฆ่าทุกวัน ยุโรป อเมริกา เข้าไปแย่งทรัพยากร ขณะที่ จีนวางแผนจะเข้าไปสร้างโครงสร้างพื้นฐาน

ประเทศแถบตะวันออกกลางอิสเราเอลเปิดแนวรบทุกด้าน

เมื่อเกิดความไม่แน่นอนในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบกับหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร และ ความมั่นคงทางพลังงาน ปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม การกักตุนพลังานในเชิงยุทธศาสตร์จะเก็บกักในรูปของปิโตรเลียมเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่หลายฝ่ายจับตา ความขัดแย้งทางตะวันออก คือ จีนขยายอิทธิพล ขณะที่สหรัฐฯปิดล้อม ทำให้หลายฝ่ายเฝ้าระวัง พื้นที่ทะเลจีนใต้ คาบสมุทรเกาหลี แม้ไทยจะไม่ได้อยู่ในคู่ขัดแย้งแต่ต้องจับตา หากเกิดสงครามขึ้นในสามพื้นที่ เขตเศรษฐกิจ 5 เขตได้รับผลกระทบ คือ เขตไต้หวัน เขตฮ่องกง เขตสิงค์โปร์ เขตเวียดนาม และ เขตไทย

รองศาสตราจารย์ปิติ กล่าวต่อว่า โซเมี๊ยะ คือ พื้นที่เทือกเขาสลับซับซ้อนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ต่อเนื่องราบสูงทิเบตเทือกเขาหิมาลัย มาถึงยูนนานมาถึงเมียร์มาร์ ไทย ลาว เวียดนาม ในอดีตพื้นที่นี้ห่างไกลแต่ปัจจุบัน พื้นที่ดังกล่าวมีทรัพยากรมหาศาล ทำให้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญที่ต้องการของหลายฝ่าย ไทยต้องมีการบริหารจัดการชายแดนอย่างเป็นระบบ ดึงประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนมาร่วมมือ

ปัญหาที่ประเทศไทยมีความกังวล คือ เรื่องดิจิทัลดิสรัปชั่น ที่มีการแข่งขันเรื่องประเภทสินค้า เช่น กล้องวงจรปิด ชิฟคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่น คราวน์ โดยมหาวิทยาลัยฮาเวิด ได้ทำงานวิจัยความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมีประเด็นใด หากปลดล็อคได้จะไม่เกิดสงคราม ต้องทำให้คนฉลาดรู้เท่าทัน เจเนอเรทีฟเอไอที่สามารถเอามาใช้ในชีวิตจริง ปัญหาที่พบคือ แรงงานไทย 40%จะถูกลดทอนโดยเอไอ การแปลภาษาโดยเอไอ เทเลคอมเทคโนโลยีการประมวลผลโดยใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

และอีกประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบกับทั่วโลก คือ นโยบายการเงิน การคลังของสหรัฐฯไม่มีความรับผิดชอบ ขาดการบริหารจัดการที่ดี เห็นได้จาก รัฐบาลอเมริกา มีหนี้ 34-36 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จีดีพี สหรัฐฯ อยู่ที่ 25-26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศซีเชล เบอร์มิวด้า ซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากขึ้น ขณะที่จีนลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และลดการใช้สกุลเงินดอลาร์สหรัฐในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศลงถึง 50% ทำให้หลายฝ่ายจับตาภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ

รองศาสตราจารย์ ปิติ  กล่าวด้วยว่า การปรับตัวของกลุ่มประเทศอาเซียนในอีก 20 ปีข้างหน้า อาเซียนต้องมีการร่วมมือในทุกมิติ เสาหลัก การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม 

สิ่งที่จะทำต่อไป เอาคนอาเซียน เอสเอ็มอี มาทำกิจกรรมร่วมกัน อัพลสกิล ให้ความรู้เพิ่มทักษะ ด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่มีการพัฒารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว