LOGO-Main
หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.)

Advanced Security Mangement Program

มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง

Security Management Foundation

การพัฒนาศักยภาพด้านการป้องกันประเทศ

Share

การอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.) รุ่นที่ 16 จัดโดยมูลนิธิจัดการเพื่อความมั่นคง 

โดยมี พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธานมูลนิธิ  

และ พลเอก ดร. มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้อำนวยการหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง 

พลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวบรรยายหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพด้านการป้องกันประเทศ ว่า ปัจจุบันกองทัพไทยทหารไทยเป็นยุค 4.5 ที่มีการปรับตัวทางด้านเทคโนโลยี เรียนรู้ระบบเอไอ 

ระบบคอมมิวนิเคชั่น ทุกระบบใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำงาน 

จะเห็นได้ว่า ทั้งโลกใช้งบ 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ 

โดย 11 ชาติ ใช้เงินป้องกันประเทศมากที่สุด 1.7 ล้านล้าน สหรัฐใช้งบป้องกันประเทศมากที่สุด

ทั้งนี้ ประเทศไทย ใช้งบป้องกันประเทศน้อยมาก 

หากเทียบกับทั้งโลก ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีนโยบาย ปรับลดงบประมาณกำลังพล เพื่อนำมาจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์แทน

ภารกิจสำคัญของทหารกำหนดไว้ 2 มิติ สำคัญ คือ การใช้กำลังของกองทัพ มีหน้าที่ป้องกันชายแดน ป้องกันประเทศ รักษาความสงบเรียบร้อย มี 8 กองกำลัง แบ่งความรับผิดชอบของกองทัพบก 7 กองกำลัง และ กองทัพเรือ 1 กองกำลัง และพร้อมขยายกำลังหากถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึง มีภารกิจอื่นๆตามที่ส่วนราชการร้องขอ เช่น สกัดกั้นยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้าน ดับไฟป่า และ การเตรียมกำลังของกองทัพ  ประกอบด้วย การปรับโครงสร้าง ความพร้อมรบ ความต่อเนื่องในการรบ ความทันสมัย

การปรับโครงสร้างกองทัพไทยเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น ทำให้กองทัพไทยในปัจจุบันเป็นแบบผสมที่มีแบบยุโรปในอดีต และ แบบสหรัฐในปัจจุบัน ในเรื่องของความพร้อมรบ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีนโยบายให้ปรับรูปแบบนักศึกษาวิชาทหาร เน้นสร้างระบบกำลังสำรองหากประเทศเข้าสู่ภาวะสงครามเต็มรูปแบบ

ประเด็นที่ต้องจับตา คือ สถาปัตยกรรมความมั่นคงของโลก มีสิ่งเกิดใหม่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว มีปรากฏการณ์เกิดขึ้น สหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย จัดตั้ง AUKUS องค์กรความร่วมมือใหม่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับ จีน และ ฝรั่งเศส โดยสหรัฐใช้การซื้อขายอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นเครื่องมือการเจริญสัมพันธไมตรีกับหลายประเทศ

พลเอกสมศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า กองทัพไทย เป็นประเทศเดียวในโลก ที่สามารถเชิญ กองทัพสหรัฐ​และ กอทัพจีน มาฝึกในประเทศไทยได้ ซึ่งเป็นการฝึกร่วมผสมกับมิตรประเทศ และกองทัพไทยมีสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยทางทหารไทยมีสัมพันธภาพที่ดี 18 ชาติ ที่ร่วมฝึกด้านความมั่นคงทางทะเล แพทย์ทหาร บรรเทาสาธารณภัย และไซเบอร์ ซึ่งเป็น​เวทีที่สานสัมพันธภาพที่ดี

ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันบริบทความมั่นคงในระดับโลก มีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความสลับซับซ้อน ความคุลมเคลือ และทำให้เข้าสู่ยุค BANI โดยต้องใช้วิธีการปรับตัว ด้วยการเห็นอกเห็นใจมากขึ้น อ่อนโยน ผ่อนคลายมากขึ้น หรือใช้ปรัญชาของน้ำแก้ปัญหา เนื่องจากน้ำ มีความยืดหยุ่นสูง เปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนอุณหภูมิ

สิ่งที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมของโลก ภาวะสงครามยูเครนรัสเซีย ฮามาส ส่งผลกระทบไทย เรื่องวิกฤตพลังงาน รวมถึงไทยมีภัยคุกคามซึ่งเป็นปัญหาของชาติ เช่น ปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ ความมั่นคงทางทะเล ความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ ความขัดแย้งทางการเมือง การก่อการร้าย ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ปัญหายาเสพติด ปัญหาผู้หลับหนีเข้าเมือง ความมั่นคงทางด้านพลังงาน ปัญหาจากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร เนื่องจากไทยเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดน้อยลง อัตราการตายน้อยลง ทำให้สังคมจะเต็มไปด้วยผู้สูงอายุ

พลเอกสมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า แนวคิดในการป้องกันประเทศ กำหนดไว้ 3 ประเด็นหลัก คือ การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง การป้องกันเชิงรุก และ การผนึกกำลังป้องกันประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นอีกหนึ่งนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ใช้ในประเทศเพื่อลดการนำเข้า และ ขยายผลไปขายต่างประเทศ แต่ยังติดขัดในเรื่องการแข่งขัน

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศในตลาดโลกมีการแข่งขันสูง เนื่องจาก สหรัฐ ชาติมหาอำนาจเป็นประเทศส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นตลาดหลัก  และ สินค้าต้องได้มาตรฐาน  ดังนั้น สิ่งที่ดำเนินการได้เบื้องต้น คือให้กองทัพซื้ออาวุธที่ผลิตในประเทศ เพื่อเป็นการสนับสนุนภายในประเทศ