LOGO-Main
หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.)

Advanced Security Mangement Program

มูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง

Security Management Foundation

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Share

การอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (มส.) รุ่นที่ 16 จัดโดยมูลนิธิจัดการเพื่อความมั่นคง โดยมี พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ เป็นประธานมูลนิธิ  และ พลเอก ดร. มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้อำนวยการหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง 

พลเอกสุรศักดิ์  กาญจนรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา และ 

ประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา 

กล่าวบรรยายหัวข้อ “การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ว่า ปี 2015 ประเทศ 190 ประเทศ มีมติ ร่วมกันกำหนดหลักการใช้ทรัพยากรเพื่อไว้ให้คนรุ่นหลัง

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย ต้องแก้จากต้นกำเนิด เช่น การเผาป่าของประเทศเพื่อนบ้าน การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ปัญหาน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสีย ไม่เกินสัดส่วน 20% วิธีแก้ต้องมีการจ่ายค่าน้ำเสียตามปริมาณการใช้น้ำของแต่ละบุคคล ขณะที่ประเทศเจริญแล้ว เช่น เยอรมัน อิสราเอล สิงค์โปร์  มีมาตรการเข้มงวดไม่ให้น้ำเสียลงสู่พื้นที่สาธารณะ ปัญหาขยะทะเล ไทยติดอันดับ 10 ของโลก ขยะทะเลเกิดจากกิจกรรมทางทะเล ชายหาด รวมถึง จังหวัดที่พื้นที่ลำน้ำสาขาไหลลงสู่ทะเล และปัญหาลดโลกร้อน ไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 20 %

ปัญหาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยยังไม่ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น ดังนั้นวิธีแก้ต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึก และ บังคับใช้กฎหมาย ต้องทำควบคู่กัน แต่กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีน้อยมาก  เป็นการสะท้อนว่า คนไทยไม่ตื่นตัวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

พลเอกสุรศักดิ์  กล่าวต่อว่า ปัญหาการจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก มีการแผ้วถางป่าบุกรุกทำลายป่าปีละ 1 ล้านไร่ ทำให้ในปี 2557 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สนธิกำลังปราบปรามหยุดยั้งการทำลายป่า  

สำหรับวิธีการทำให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ ได้มีการปรับแก้กฎหมายป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่บังคับใช้มานานกว่า 78 ปี 

ตัดไม้หวงห้ามในที่ดินกรรมสิทธิ์ไม่ถือว่าผิดกฏหมาย